เมทัลชีทคืออะไร รั้วเมทัลชีท ระแนงเมทัลชีทคืออะไร
เมทัลชีท คือ แผ่นเหล็กที่รีด และชุบร้อนเคลือบสารกันสนิมที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมและสังกะสี ลักษณะเป็นลอนๆ มีความหนา 0.23 ,0.35,0.4 มม. บางที่ก็หนากว่านี้ แต่ควรเลือกใช้ความหนาที่ 0.35 ขึ้นไปเพื่อความทนทาน และเลือกยี่ห้อที่มีมาตรฐาน ขนาดหน้ากว้าง 76 ซม. บางที่ก็หน้ากว้าง 1 เมตร ความยาวสามารถสามารถเลือกได้ตามสั่ง เมทัลชีทนิยมนำมาทำรั้วบ้าน หลังคา ผนังตกแต่งบ้านอาคาร สำนักงาน
แผ่นหลังคาเมทัลชีท
แผ่นหลังคาเมทัลชีท มักจะนิยมใช้มุงหลังคาบ้าน หลังคาโรงรถขนาด ความหนาของแผ่นควรใช้หนา 0.35 มม. ขึ้นไป แผ่นหลังคาจะมีทั้งแบบเปลือย และติดฉนวนกันความร้อน
แผ่นเมทัลชีทเปลือย
แผ่นแบบเปล่าๆ ข้อดีคือราคาถูก แต่กลางวันจะร้อนมาก และฝนตกเสียงจะดังมาก
แผ่นติดฉนวนกันความร้อน
การติดฉนวนกันความร้อนจะมี 2แบบคือ
- ติดฉนวนฟลอยกันร้อน ฟลอยกันร้อนจะมีสีเงินๆ หรือสีดำ ไม่แนะนำให้ติดแบบนี้เพราะติดไปไม่นานมักจะลอก ร่อน
- ติดฉนวนโฟมกันความร้อน การติดตั้งโฟมควรเลือกแบบไม่ลุกติดไหม้ โฟมจะมีหนา 1นิ้ว ,2นิ้ว การติดตั้งโฟมจะทำให้บ้านเย็น และลดเสียงดังจากฝนตกได้พอสมควร
สรุป ข้อดีของเมทัลชีท คือ ราคาถูก ติดตั้งง่าย เบา สามารถเลือกขนาดความยาวตามที่เราต้องการได้ ควรเลือกยี่ห้อที่ได้มาตรฐาน แผ่นควรเลือกแบบหนา และติดโฟม PU
รั้วเมทัลชีท
การเพิ่มความสูงรั้วบ้านโดยการเลือกใช้รั้วเมทัลชีทนั้นจะทำให้บริเวณรอบบ้านเป็นส่วนตัว รั้วที่สูงขึ้นทำให้รู้สึกปลอดภัย ความสูงมาตรฐานที่นิยมต่อเติมจากกำแพงบ้าน คือ 1 เมตร
การต่อเติมรั้วบ้านให้สูงขึ้นโดยใช้รั้วเมทัลชิทมักจะนิยมทำแบบทึบ ติดตั้งบนโครงเหล็กกล่องเจาะยึดโดยใช้สกรู รั้วเมทัลชีทแบบนี้จะน้ำหนักเบามาก สามารถทำโครงสร้างเหล็ก และเจาะยึดกับกำแพงบ้านได้เลย รั้วร่วมก็สามารถติดตั้งได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
ระแนงเมทัลชีท
ระแนงเมทัลชิท จะทำจากเหล็กรีดขึ้นลอน กว้างประมาณ 10 ซม ความยาวสามารถสั่งผลิตได้ มีสีให้เลือกหลายสี น้ำหนักเบา ทนทาน ราคาถูก มักจะใช้ติดทำรั้วบ้าน ประตูบ้าน การติดตั้งจะติดบนโครงเหล็ก ยึดโดยการใช้สกรูปลายสว่าน
กฎหมายรั้วบ้านที่ควรรู้
1.พื้นที่ดินเปล่าๆการจะทำรั้วบ้าน หากรั้วบ้านที่เราจะทำติดพื้นที่สาธารณะควรสูงไม่เกิน 3เมตร ต้องขออนุญาติเขต และทำแบบก่อสร้าง
2.การจะทำรั้วพื้นที่ติดเพื่อนบ้าน รั้วจะสูงได้ไม่เกิน 10 เมตร (แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้เพื่อนบ้าน เพราะถ้ามีเหตุรบกวนข้างบ้านอาจจะโดนข้อกฎหมายอื่น)
ตามกฎกระทรวง ฉบับ ที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522